วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธที่ 8 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ The knowledge gained

นำเสนอคำคม
1. นางสาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์



2. นางสาวชนากานต์ แสนสุข


3. นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว

4. นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์
5. นางสาวสุจิตรา มาวงษ์

  • นำเสนอวิจัยที่เกี่ยวข้องการบริหาร  (งานกลุ่ม )
กลุ่มที่ 1  วิจัยเรื่อง  ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต 


สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 ผู้วิจัย    อัญชลี พิมพ์พจน์   ปีการศึกษา   2553



วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.  มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม และระบบ
คุณค่าแห่งสังคมไทยโดยรวม ท้องถิ่นและชุมชน
2.  เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
3.  มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหาร
การศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้า สามารถนําเอา
ทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
4.  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
5.  มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม

กลุ่มที่ 2  วิจัยเรื่่อง การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 


1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย

สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยโดยรวมครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์สอนต่างกันมีความคิดเห็นต่อ สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยครูที่มีประสบการณ์สอน 5 ปีขึ้นไปมีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการมากกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนต่ำกว่า 5 ปี การปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา



กลุ่มที่ 3 วิจัยเรื่อง การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย    การศึกษาระดับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต   มหาวิทยาลัยศิลปกร
ผู้วิจัยนางสาวกัญวัญญ์  ธารีบุญ   ปีการศึกษา 2557



วัตถุประสงค์ของการวิจัย 


1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


  1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
  2. เพื่อให้บุคลากรรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่ของตน และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ
  3. เกิดการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ และแสดงความสามารถมากขึ้น
  4. ส่งผลให้องค์การมีโอกาสก้าวหน้าในงาน เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ จะช่วยจูงใจให้เกิดการเสียสละ อุทิศตนในงาน
  5. โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยสามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนาโรงเรียนของตนเองได้



Apply:  
  • ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการเป็นผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ
  • assessment (ประเมิน)

    Classroom Evaluation
    ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ

    Self Evaluation
    มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ มีส่วนน้อยที่มาเรียนสาย 

    Evaluation for classmated
    เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา 

    Evaluating teacher
    อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น