วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

(ไม่มาเรียน คัดลอกมาจาก นส. กมลรัตน์ มาลัย)


ความรู้ที่ได้รับ The knowledge gained


    • เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร



    ความหมายของบุคลิกภาพ
                    บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา 
    บุคลิกภาพภายใน  บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส


    สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
     คือความท้อถอย
    บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา เข้ามาแทรกในความรู้สึกนึกคิดทำให้พลังและศักยภาพของเราลดน้อยลงกว่าครึ่ง ในเรื่องความท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ

    ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
    1. ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์
    2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย
    3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ


    แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย
    1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น
    2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม
    3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า
    “งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน”
    4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่
    ครูกับการพัฒนาตน
    . ครูควรพัฒนาตนเองใน 2 ลักษณะคือ
    1. การพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
    - การพัฒนาในด้านความรู้
    - การพัฒนาในด้านเทคโนโลยี
    - การพัฒนาในด้านคุณลักษณะกับเจตคติ
    2. การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
    - การรู้จักตนเองและการเข้าใจตนเอง
    - การสำรวจตนเอง
    - การปรบปรุงตนเองในด้าน การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก – ภายใน การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้

    หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ

    การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม   การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ
    การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น   บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี
    การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
    ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
    ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
     1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
      2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
     3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
     4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
     5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
     6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา   7.  มีความรอบรู้                  
     8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
     9.  มีความจำแม่น              
    10.   วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ



    Apply:  
    • ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการปฏิบัติตัวการพัฒนาบุคคลิกภาพเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการเป็นผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น